ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ (ปุ๋ย) นางสาววรนารี ทองแดง ในรายวิชา Information Technology 2

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ก็แค่เม้นธรรมดาใส่ความจริงใจหวังแค่ให้เทอสดใสตลอดวัน
เคล็บลับในการร้องเพลง


การร้องเพลงให้เพราะ ข้อสำคัญจะต้องมีอารมณ์สอดแทรกความรู้สึกให้ได้กับเนื้อหาของเพลง มีใจรัก ปล่อยใจ ปล่อยอารมณ์ ให้ตัวเบา


การออกเสียงจะต้องสบาย ๆ ถ่ายทอดความรู้สึก เราควรสอดแทรกและสื่อความหมายของเพลงให้แก่ผู้ฟัง ถ้าเราปล่อยความรู้สึกของเราตามความหมายของเสียงเพลง ผู้ฟังจะเข้าใจ เช่น เพลงเศร้า จะต้องให้เศร้า เสียใจ นั่นแหละจึงจะประสบความสำเร็จ ถ้าร้องไปโดยไม่คำนึงถึงความหมาย เราก็จะไม่สามารถเข้าถึงหัวใจเขาได้


นอกจากนี้เราต้องรักษาระดับเสียงสูงต่ำขึ้นลงให้ได้อีกด้วย ก่อนอื่น เราต้องฝึกเสียงให้ผ่านจากลำคอไปถึงท้อง ต้องร้องแบบเปิดลำคอ จุดนี้ต้องให้ความรู้สึกโล่งที่สุด เหมือนกับโทรโข่งที่รับเสียงแล้วก้อง ไม่มีสิ่งใดมากีดขวาง ร้องเพลงอย่างมีความสุข สบาย ๆ ไม่ใช่ว่ารู้สึกเหนื่อยเวลาขึ้นเสียงสูง เพราะคนฟังก็จะรู้สึกอย่างนั้นไปด้วย


ทักษะในการร้องเพลงต้องสูดหายใจลึก ๆ การออกเสียงเสมือนกับการดื่มน้ำหรือการรับประทานอาหาร ซึ่งต้องผ่านลำคอลงไปโดยไม่ติดคอ จึงจะเป็นการร้องเพลงที่ถูกต้อง



การออกเสียงเหมือนการทวนกระแส เสียงสูงเราต้องทิ้งเสียงให้ลงไปข้างล่าง เช่น การตะโกนเรียงคนที่อยู่ไกล ๆ หรือตะโกนข้ามภูเขาของชาวเขา เป็นต้น


ส่วนเสียงต่ำจะเป็นการเก็งและตะเบ็งออกให้ขึ้นที่สูง แต่จะต้องมีพลังและก้องกังวาลแบบเสียงระฆัง ดังนั้นเสียงสูงจึงเปรียบได้กับเสียงระฆัง และเสียงต่ำเปรียบเหมือนเสียงกลอง


การร้องเพลงเป็นการฝึกการพูดของเราเหมือนกัน บางคนพูดแล้วจะรู้สึกเหนื่อย ผู้ที่มีปัญหาเรื่องหลอดลมหรือปอด หายใจไม่ทัน ถ้าได้ฝึกร้องเพลงแล้วฝึกให้ถูกต้อง จะเป็นการช่วยให้สุขภาพดีขึ้น เป็นการฝึกการบริหาร แต่ต้องฝึกให้ถูกวิธี จึงต้องออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย ลักษณะของการออกกำลังกายจะมีการหายใจเข้าและหายใจออกเหมือนกับการร้องเพลง ดังนั้นผู้ที่ร้องเพลงได้ดีส่วนมากจึงออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ผลพลอยได้คือ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ชะลอความแก่ได้ ดังสุภาษิต ที่ว่า "ยิงปืนนัดเดียวได้ นกสองตัว" เพราะร้องเพลงได้ดีขึ้น และสุขภาพยังแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

กรรม 12



กรรม 12

ในตอนนี้เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รู้รายละเอียดแห่งกรรมจึงขอกล่าวถึงกรรม 12 ซึ่งจัดตามหน้าที่จัดจามแรงหนักเบาและจัดตามกาลที่ให้ผล เมื่อทราบคำจำกัดความของกรรมประเภทต่าง ๆ แล้ว ผู้อ่านบางท่านอาจเข้าใจได้เลย บางท่านอาจยังไม่เข้าใจ ท่านที่ยังไม่เข้าใจก็อย่างเพิ่งใจร้อน ทำใจเย็น ๆ ไว้ก่อนและขอให้อ่านต่อไป จะเข้าใจได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

กรรมจัดตามหน้าที่มี 4

1. ชนกกรรม กรรมที่ก่อให้เกิดหรือส่งให้เกิดในกำเนิดต่าง ๆ เปรียบเสมือนมารดาของทารก ชนก - กรรมนี้เป็นผลของอาจิณณกรรมบ้างของอาสันนกรรมบ้าง
2. อุปถัมภกกรรม กรรมอุปถัมภ์ เป็นเสมือนพี่เลี้ยงนางนม มีทั่งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี
3. อุปิฬกกรรม กรรมบีบคั้น มีหน้าที่บีบคั้นกรรมดีหรือชั่วให้เพราะลง
4. อุปฆาตกรรมหรืออุปัจเฉทกรรม กรรมตัดรอน มีหน้าที่ตัดรอนกรรมทั่งฝ่ายกุศลและอกุศล

กรรมจัดตามแรงหนักเบามี 4

1. ครุกรรม กรรมหนัก ฝ่ายดีหนมายถึงฌาณ วิปัสสนา มรรค ผล ฝ่ายชั่วหนมายถึงอนันตริกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสงฆ์ผู้สามัคคีกันให้แตกกัน
2. อาติณณกรรมหรือพหุลกรรม กรรมที่ทำจนเคยชินหรือทำมาก ทำสม่ำเสมอ กรรมนี้จะให้ผลยั่งยืนมาก
3. อาสันนกรรม- กรรมที่บุคคลทำเมื่อจวนสิ้นชีวิต มีอาจภาพให้บุคคลไปสู่สุคติหรือทุคติได้ ถ้าเขาหน่วงเอากรรมนี้เป็นอารมณ์ เมื่อจวนตาย
4. กตัตตากรรมหรือตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือทำโดยไม่เจตนา

กรรมจัดตามกาลที่ให้ผลมี 4

1. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม- กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน
2. อัปัชชเวทยีกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติต่อไปถัดจากชาติปัจจุบัน
3. อปราปรเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลหลังจาก อุปัชชเวทนียกรรม คือ ให้ผลเรื่อยไปสบโอกาสเมื่อใด ให้ผลเมื่อนั้น
4. อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ให้ผล เลิกแล้วต่อกัน

รายละเอียดของกรรม 12

เมื่อกรรมนำไปปฏิสนธิในภพใหม่ คือ คนที่ทำกรรมดีไว้ย่อมไปเกิดในภพที่ดี คนทำกรรมชั่ว
ไว้มากไปเกิดในภพที่ชั่วกรรมที่ส่งให้เกิดนั้นเรียกว่า ชนกกรรม (ชนก = ให้เกิด) สมมติว่าชนกกรรมฝ่ายดีส่งเขาให้เกิดในตระกูลที่ดี มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินสมบัติและบริวาร มีตระกูลสูง เขาเกิดเช่นนั้นแล้วไม่ประมาท หมั่นหาทรัพย์เพิ่มเติม รักษาทรัพย์เก่าให้มั่นคง มีความเคารพนบนอบต่อผู้ควรเคารพ ถนอมน้ำใจบริวารด้วยการสงเคราะห์เอื้อเฟื้อ พูดจาไพเราะ ทำประโยชน์ให้และวางเหมาะสม การกระทำเช่นนั้นเป็นอุปถัมภกกรรม ช่วยส่งเสริมผลของกรรมดีเก่า รวมกับกรรมใหม่ ทำให้เขามั่งคั่งมากขึ้นมีบริวารดีมาขึ้น
ตรงกันข้ามถ้าเขาได้ฐานะเช่นนั้นเพราะกุศลกรรมในอนาคตส่งผลให้แล้ว เขามัวเมาประมาท ผลาญทรัพย์สินด้วยอบายมุขนานาประการ มีเกียจคร้านทำการงานและคบมิตรเลวเป็นต้น กรรมของเขานั้นมีสภาพเป็นอุปปีฬก กรรมบีบคั้นเขาให้ต่ำต้อยลงจนสิ้นเนื้อประดาตัว บริวารก็หมดสิ้นถ้าเขาทำชั่วมากขึ้นกรรมนั้นจะกลายเป็นอุปฆาตกรรม ตัดรอนผลแห่งกรรมดีเก่าให้สิ้นไป กลายเป็นคนล่มจมสิ้นความรุ่งเรืองในชีวิต
อีกด้านหนึ่งสมมติว่า บุคคลผู้หนึ่งเกิดมาลำบากยากเข็ญ ขันสนทั้งทรัพย์และบริวาร รูปร่างผิวพรรณก็ไม่งามเพราะอกุศลกรรมในชาติก่อน หลอมตัวเป็นชนก กรรมฝ่ายชั่ว เมื่อเกิดมาแล้วเขาประกอบกรรมชั่วซ้ำเข้าอีก กรรมนั้นมีสภาพเป็นอุปถัมภกกรรม ช่วยสนับสนุนกรรมเก่าให้ทวีแรงขึ้น ทำให้ฐานะของเขาทรุดหนักลงไปกว่าเดิม
แต่ถ้าเขาผู้เกิดมาต่ำต้อยเช่นนั้นแล้ว ไม่ประมาทอาศัยความเพียรพยายามในทางที่ชอบ ถือเอาความอุตสาหะเป็นแรงหนุนชีวิตรูจักคบมิตรดี กรรมของเขานั้นมีสภาพเป็นปุปฬกกรรม - บีบคันผลของอกุศลกรรมเก่าให้เพลากำลังลง เขามีความเพียรในทางที่ชอบมากขึ้น ขวนขวายในทางบุญกุศลมากขึ้นกรรมของเขาแปรสภาพเป็นอุปฆาตกรรมหรืออุจเฉทกรรมตัดรอนผลแห่งอกุศลกรรมเก่าให้ขาดสูญ จนในที่สุดเขาเป็นคนตั้งต้นได้ดี มีหลักฐานมั่นคง
ที่กล่าวมานี้ คือ กรรมที่จัดตามหน้าที่หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หน้าที่ของกรรม ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ให้เกิดอุปถัมภ์บีบคั้นและตัดรอน
ส่วนกรรมที่ให้ผลและแรงหนักเบาของกรรมนั้นมีความสัมพันธ์กันมาก คือ กรรมหนัก (ครุกรรม) ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว จะให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็น (ทิฆฐธัมมเวทนีย์) ส่วนกรรมที่เป็นอาจิณหรือพหุกรรมนั้น ถ้ายังไม่มีโอกาสให้ผลในชาติปัจจุบัน ก็จะยกยอดไปให้ผลในชาติถัดไป (อุปัชชเวทนีย์) และชาติต่อๆ ไป (อปราปรเวทนีย์) สุดแล้วแต่โอกาสที่ท่านเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนี้อทัน เมื่อใดกัดเมื่อนั้น
กรรมที่บุคคลทำเมื่อจวนสิ้นชีวิต (อาสันนกรรม) นั้น มักให้ผลก่อนกรรมอื่น เพราะจิตไปหน่วงอารมณ์นั้นไว้แน่นไม่ว่าเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว กรรมนั้นใกล้จุติจิตและใกล้ปฏิสนธิจิต ท่านว่าแม้บางคราวจะมีกำลังน้อยก็ให้ผลก่อนกรรมอื่นเปรียบเหมือนรถติดไฟแดง เมื่อไฟเขียวอันเป็นสัญญาณให้รถไปได้เปิดขึ้น รถคันหน้าแม้มีกำลังวิ่งน้อยก็ออกได้ก่อน พอผ่านสี่แยกไปแล้ว รถที่มีกำลังดีกว่าย่อมแซงขึ้นหน้าไปได้
ในตำรา ท่านเปรียบผลของอาสันนกรรมว่า เหมือนวัวที่ขังรวมกันอยู่ในคอ รุ่งเช้ามารอกันอยู่ที่ประตูคอก พอนายโคบาล (คนเลี้ยงโค) เปิดประตูคอก วัวตัวใดอยู่ใกล้ประตูที่สุดจะเป็น แม่โค ลูกโค หรือโคแก่ก็ตามย่อมออกมาได้ก่อน แต่เนื่องจากกำลังเพลา พอออกมาในที่โล่งแล้ว วัวตัวใดมีกำลังมาก วัวนั้นย่อมเดินขึ้นหน้าไป ผลของอาสันนกรรมให้ผลก่อนก็จริง แต่ให้ผลในระยะสั้นเมื่อสิ้นแรงของอาสันนกรรมแล้วก็เป็นโอกาสของอาจิณณกรรมหรือพหุลกรรม คือ กรรมที่คนทำจนเคยชินทำจนเป็นนิสัย
ส่วนกรรมที่ทำโดยไม่เจตนาที่เรียกว่า กตัตตากรรมหรือกตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำให้ผลน้อยที่สุด กำลังเพลาที่สุด เมื่อกรรมอื่นไม่มีจะให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผลเป็นเหมือนหนี้รายย่อยที่สุด
กรรมใดคอยโอกาสให้ผลอยู่ แต่ไม่มีโอกาสให้ผลอยู่ แต่ไม่มีโอกาสเลยจึงเลิกแล้วต่อกันไม่ให้ผลอีก กรรมนั้นเรียก อโหสิกรรม เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่เก็บไว้นานเกินไปหรือถูกคั่วให้สุกด้วยไฟเสียแล้วไม่มีโอกาสงอกขึ้นได้อีก (เรื่องนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติมตอนที่ว่าด้วย กรรมจะหยุดให้ผลด้วยเหตุ 3 ประการข้างหน้า)
กรรมเป็นเรื่องสลับซับซ้อนมาก แต่ผู้มีปัญญาก็พอตรองตามให้เห็นจริงได้ เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่ยากเกินไป จนตรองตามด้วยปัญญาแล้วก็ไม่เห็นและไม่ง่ายเกินไปจนไม่ต้องตรองตามก็เห็นได้
กรรมบางอย่างบุคคลทำโดยไม่เจตนาก็จริง แต่ก่อผลสุขและทุกข์ให้แก่ผู้อื่นได้ผู้ทำกรรมเช่นนั้นย่อมได้รับผลย่อมได้รับผลตอบแทนมาในทำนองเดียวกัน คือ ได้รับสุขหรือทุกข์ซึ่งเกิดขึ้นโดยปราศจากเจตนาของผู้อื่น เช่น การยิงนกแต่ไปถูกคนเข้าหรือเขายิงคนอื่นแต่ไพล่ไปถูกอีกคนหนึ่ง โดยเหตุบังเอิญ นี้เป็นผลแห่งกตัตตากรรม
บุคคลผู้หนึ่งโยนก้อนหินลงไปทางหน้าต่าง บังเอิญก้อนหินนั้นไปถูกคนหนึ่งเข้า หัวแตกกรรมของเขาเป็นกตัตตากรรม เมื่อถึงคราวที่กรรมนี้จะให้ผล ย่อมให้ผลในทำนองเดียวกัน
ในฝ่ายดี เช่น บุคคลผู้หนึ่งเอาของเหลือไปเททิ้งไม่ได้ตั้งใจจะให้ใคร แต่บังเอิญสุนัขมาอาศัยกินรอยชีวิตไปได้กรรมนั้นของเขาเป็นกตัตตากรรม เมื่อถึงคราวเขาจะได้รับผลแห่งกรรมนั้นย่อยได้รับในทำนองเดียวกัน
จริงอยู่พระพุทธองค์ตรัสว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ = ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นว่าเป็นกรรมนั้นหมายเอากรรมอื่นทั้งปวง ยกเว้นกตัตตากรรม

การเปลี่ยนแปลงของภาษาในสังคมไทย




การเปลี่ยนแปลงของภาษามีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากตัวภาษาเอง และการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากตัวภาษาเองเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดตามธรรมชาติ และตามกาลเวลา ภาษาทุกภาษาในโลกจะเปลี่ยนแปลงเสมอเมื่อกาลเวลาผ่านไป ดังเช่นที่ภาษาไทยในปัจจุบันมีความแตกต่างจากภาษาไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ส่วนการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกนั้นอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยทางสังคม เช่น การอพยพย้ายถิ่น การติดต่อค้าขาย การไปมาหาสู่ การแต่งงานข้ามชาติ การตกเป็นอาณานิคม ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ได้รับวัฒนธรรมตะวันตกทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และวีถีความเป็นอยู่ ภาษาในสังคมก็ย่อมต้องขยายตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
การเปลี่ยนแปลงของภาษาอาจจะพิจารณาได้จากมุมมอง 2 มิติ คือ มิติของการลู่ออกของภาษา (linguistic divergence) และมิติของการลู่เข้าของภาษา (linguistic convergnece)